
ประวัติ นกหัสดีลิงค์ สัตว์นำดวงวิญญาณของชาวล้านนา
- Jynx
- 95 views
ประวัติ นกหัสดีลิงค์ สัตว์นำดวงวิญญาณ ของชาวล้านนา ถือกำเนิดอยู่ในป่าหิมพานต์ ร่างกายเป็นนกขนาดใหญ่ แต่มีงวงเหมือนช้าง ว่ากันว่ามีพละกำลัง เทียบเท่ากับช้างเอราวัณ 5 ตัว ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งความหมายของชื่อ ตำนาน และความเชื่อ อ่านต่อด้านล่าง
คำว่า ประวัติ นกหัสดีลิงค์ กล่าวถึงในภาษาบาลี ด้วยคำว่า “หตฺถิลิงฺคสกุโณ” เป็นการรวมกันของ 3 คำ ได้แก่
ส่วนความหมายในภาษาสันสกฤต เป็นการรวมกันของ 2 คำ คือ หัสดิน + ลิงคะ หมายถึง นกที่มีงวง ในขณะที่คนล้านนา ตั้งชื่อเล่นให้สั้นๆ ว่า นกหัสหรือนกงางวง [1] นอกจากนี้ ยังมีอีกชื่อหนึ่ง คือคำว่า นกสักกะไดลิงค์
ตำนานเล่าว่า มันเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าหิมพานต์ ซึ่งเป็นนกที่กินเนื้อ ถูกกล่าวถึงโดย ชาวนครตักศิลา เมื่อกษัตริย์สวรรคต มีการอัญเชิญศพไปยังทุ่งหลวง ในเวลาเดียวกัน นกบินมาจากป่า และฉกศพของกษัตริย์ไป
พระราชินีจึงประกาศหาคน ที่จะไปต่อสู้กับนก เพื่อเอาศพคืนมา จากนั้นมีหญิงสาวนามว่า “นางสีดา” ซึ่งเป็นธิดาของมหาราชครู อาสาตัวทำหน้าที่นี้ โดยนางใช้ลูกศรอาบยาพิษยิงนก พระราชินีจึงสั่งให้สร้างเมรุแก้ว บนหลังของนกตัวนั้น แล้วเผาศพไปพร้อมกษัตริย์
ทำให้หลังจากเหตุการณ์นั้น ประเพณียิงนก จึงเป็นสิ่งที่ทำสืบต่อกันมา ในพิธีศพของชนชั้นสูงชาวอีสาน เพราะเชื่อกันว่า นกหัสดีลิงค์จะนำวิญญาณไปสู่สวรรค์ [2] แต่ในกลุ่มช่างมักเรียกนกตัวนี้ว่า “นกอินทรี”
ในเรื่องราวการถือกำเนิด ของนครหริภุญไชย หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน มีฤๅษี 3 องค์ ได้แก่ ควาสุเทพ, สุกทันต และอนุสิส เรียกนกหัสออกมาจากป่า แล้วให้บินไปคาบหอยสังข์ ที่อยู่ในมหาสมุทร เพื่อนำกลับมาเป็นต้นแบบ ในการสร้างเมือง
ฤๅษีทั้งสามใช้ไม้เท้าของตน ขีดเส้นแบ่งเขตแดน จากลักษณะของหอยสังข์ และกลายมาเป็นอาณาจักร รูปร่างกระดองเต่า ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ซึ่งเชื่อว่าผังเมืองนี้ จะทำให้ผู้คน พบความสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีเรื่องเล่าเพิ่มเติม เป็นบทความเขียนขึ้น เมื่อปี 2477 โดย ดร.ฌอง บร็องก์ ระบุว่า
มเหสีของพระอินทร์ นามว่าสุชาดา ลงมาเกิดเป็นธิดา แห่งดินแดนตักศิลา โดยตั้งชื่อให้ว่าสีดา โดยมีความประสงค์ คือ มากำราบนกหัสดีลิงค์ เมื่อถึงเวลา พระอินทร์ลงมา มอบศรและอวยพรให้ สีดาสามารถเอาชนะได้ นางยิงลูกศรใส่นกจนตาย และครองเมือง 2 ปี ก่อนจะกลับขึ้นไปบนสวรรค์
เริ่มพบคำว่าหัสดีลิงค์ ที่ใช้ในไทย จากหนังสืออักขราภิธานศรับท์ หน้าที่ 328 เขียนโดย Dan Beach Bradley หรือชื่อไทยว่า หมอปรัดเล ตีพิมพ์เมื่อปี 2416
และในหนังสือสำหรับค้นคว้า บาลีไทย, อังกฤษ, สันสกฤต หน้าที่ 867 ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ตีพิมพ์เมื่อปี 2513 รวมไปถึงในตำรา บาลีสยามอภิธาน ที่เรียบเรียงโดย นาคะประทีป ในปี 2465 [3]
และถูกพรรณนาถึง ในเวอร์ชันภาษาทมิฬว่า POGUVAL โดยอธิบายลักษณะไว้ดังนี้
พิธีงานศพของล้านนาโบราณ จะสร้างปราสาท รูปทรงนกงางวง ไว้ใส่ร่างคนตาย โดยเฉพาะงานของพระสมณศักดิ์สูง อย่างเช่น พระเถระ เจ้าอาวาส รวมถึงพระที่อยู่ในพรรษานาน ยกตัวอย่างพิธีศพในยุคปัจจุบัน เช่น
โดยนอกจากชาวล้านนา ประเพณีดังกล่าว ยังสืบต่อในชาวอีสานโบราณ โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี ย้อนไปในสมัยก่อน จะสร้างร่างนกขึ้นมา แล้วนำไปทำพิธี ยังสนามทุ่งศรีเมือง 3 วัน ซึ่งผู้ที่ต้องสังหารนก คือสายเลือดที่สืบมาจากนครเชียงรุ่ง
แต่มีการปรับเปลี่ยน จากตั้งเดิมทีนกจะวางแนบกับพื้นดิน กลายมาเป็นตั้งไว้ บนสิ่งที่เรียกว่า บุษบก รวมไปถึงจากพิธีของเชื้อสายเจ้าเมือง ยังกลายมาเป็นวัฒนธรรม ของกลุ่มประชาชนด้วย [4]
โดยสรุปแล้ว ประวัตินกหัสดีลิงค์ หรืออีกหลายชื่อ เป็นวิหคแปลกประหลาด ของคนไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ งวงช้าง มีตำนานเกี่ยวข้องกับความตาย ทั้งเป็นผู้นำวิญญาณ และกินซากศพ ทำให้ปัจจุบัน ถูกใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ สำหรับงานศพของบุคคลชนชั้นสูง โดยเฉพาะพระสงฆ์
ที่ต้องยิงนกหัสดีลิงค์ เพราะเชื่อว่าวิญญาณของมัน จะช่วยนำวิญญาณของคนตาย ขึ้นไปสวรรค์
มันเป็นนกกินเนื้อกับซากศพ ชอบมองหาสีแดง เพราะดูเหมือนเลือด ถ้าเกิดคนไหน แต่งกายด้วยสีดังกล่าว อาจตกเป็นเหยื่อของมัน เพราะเข้าใจผิด แถมยังมีกำลังยิ่งกว่าช้าง 5 เชือก บ้างก็ว่ากินคชสาร เป็นอาหารอีกด้วย