แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ คาสิโน บาคาร่า ไฮโล ครบพร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

คิชูเคน สุนัขญี่ปุ่น สัตว์เลี้ยงผู้จงรักภักดี

คิชูเคน สุนัขญี่ปุ่น

คิชูเคน สุนัขญี่ปุ่น เป็นหนึ่งใน พันธุ์หมา ต่างประเทศ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มาหลายทศวรรษ และยังเป็นสุนัขที่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นสัตว์เลี้ยง ที่มีความจงรักภักดี ฉลาด และมีสัญชาตญาณ ในการล่า ที่เฉียบคม ทำให้เป็น นักล่า ที่ยอดเยี่ยม 

  • ประวัติที่มาของคิชูเคน
  • รูปลักษณ์ภายนอกของคิชูเคน
  • วิธีการฝึกคิชูเคนให้เชื่อง

เปิดประวัติที่มา ของคิชูเคน

คิชูเคน เป็นสุนัขที่มีหลายชื่อเรียก เช่น ไทจิ เกะ หรือคุมาโนะ เคน ซึ่งเป็นพันธุ์สุนัข ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ ประเทศญี่ปุ่น และมีแนวโน้มว่า เป็นสายพันธุ์ ที่สืบเชื้อสายมาก หมาป่า คิชูเคนมีลำตัว ขนาดกลาง แต่มักจะชอบล่าสัตว์ ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเอง เช่น หมูป่า หรือกวาง

และด้วยความที่เป็น สายพันธุ์สุนัข ที่มีความแข็งแกร่ง และทนทาน จึงทำให้เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม ของคนในประเทศญี่ปุ่น และพบได้ยากในประเทศอื่น [1]

คิชูเคนเป็นสุนัข ที่มีลักษณะคล้ายหมาป่า

คิชูเคนเป็นพันธุ์สุนัข ที่มีต้นกำเนิดมาจาก ญี่ปุ่น และมีลักษณะเด่น คล้ายกับหมาป่า เนื่องจากมีบางอย่าง ที่คล้ายกัน เช่น เล็บเท้า ที่แหลมคม เท้าพังผืด รวมถึงฟันที่แหลมคม ของมัน คิชูเคนเป็นสุนัขที่ค่อนข้าง สงวนตัว แต่มักจะทุ่มเททุกอย่าง ให้กับครอบครัวของตนเอง และชอบที่จะปกป้อง ครอบครัว ทำให้สุนัข สายพันธุ์นี้ เป็นสมาชิกที่น่ารัก และน่าเชื่อถือ [2]

รูปลักษณ์ภายนอกของคิชูเคน

  • ตัว : ขนาดกลาง ตัวผู้สูงประมาณ 49 – 55 ซม. ส่วนตัวเมียสูงประมาณ 43 – 49 ซม. มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14 – 27 กิโลกรัม 
  • หัว และหน้าตา : หัวมีรูปร่าง สามเหลี่ยมเล็กน้อย จมูกตรง ปลายจมูกมักเป็นสีดำ ตาเล็ก เรียว สีเข้ม มีความคม และมีหูตั้ง ขนาดเล็ก ปลายแหลม
  • ขน : มีขน 2 ชั้น ขนชั้นนอก หยาบตรง ขนชั้นในหนา และนุ่ม คล้ายกับ หมาเวลช์ เทอร์เรีย คือ มีความยาวอยู่ในระดับปานกลาง ขนเป็นสีขาว บ้างก็สีแดง หรือ สีงา 
  • หาง : หางหนา และฟู มักจะม้วนขึ้น เหนือหลัง หรือโค้ง เป็นรูปเคียว

ลักษณะนิสัยและอารมณ์ ของคิชูเคน

คิชูเคน สุนัขญี่ปุ่น

คิชูเคนเป็นสุนัขที่ สามารถเข้ากับคนได้ง่าย อาจจะมีเขินอายบ้างเล็กหน่อย อีกทั้งยังเป็นสัตว์ ที่กล้าหาญ เป็นนักล่า ที่ยอดเยี่ยม เพราะมีสัญชาตญาณใน การล่า ที่แรงกล้า มันมักจะล่าเหยื่อทุกครั้ง ที่มีโอกาส และคิชูเคนยังสามารถเข้ากับ แมว หรือสุนัขตัวอื่นๆ ได้

หากถูกเลี้ยงดูมาด้วยกัน หรือได้รับการเลี้ยงดู มาอย่างดี คิชูเคนเป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้าง ดื้อรั้น เอาแต่ใจ ทำให้ในบางครั้ง อาจจะต้องมีการฝึก ให้มันจงรักภักดี กับคนในครอบครัว [3]

รู้ไม่ว่าสุนัขคิชูเคน คือสมบัติธรรมชาติของญี่ปุ่น?

คิชูเคนเป็น พันธุ์หมา น่าเลี้ยง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น สมบัติธรรมชาติ โดยสมาคมอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ ของญี่ปุ่น เพราะเป็นสายพันธุ์ ของสุนัข ที่เกิดและพัฒนาขึ้น ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง อีกทั้งยังมีประวัติศาสตร์ ที่ยาวนาน มีบันทึกการใช้คิชูเคน ในการล่าสัตว์ ตั้งแต่สมัยโบราณ คิชูเคนเป็นความภาคภูมิใจ ในชาติ และเป็นสัญลักษณ์ ทางวัฒนธรรม ของญี่ปุ่นด้วย

วิธีการฝึกคิชูเคนให้เชื่อง ทำได้อย่างไร?

  • เริ่มฝึกตั้งแต่ยังเล็ก โดยเริ่มจาก การออกคำสั่งง่ายๆ เช่น มา คอย นั่ง เป็นต้น ฝึกเป็นประจำอย่างน้อย วันละ 10 – 15 นาที
  • สร้างความไว้ใจ ใช้เวลาอยู่ร่วม กับเขาแบบสงบๆ ไม่เร่งเร้า อย่างเช่น นั่งข้างๆ เงียบๆ พาเดินเล่นด้วยจังหวะนิ่งๆ หรือป้อนขนมจากมือ 
  • ใช้รางวัล มากกว่า การลงโทษ เมื่อเขาทำดี ควรให้สิ่งตอบแทน เป็นขนม หรือคำชม พยายามอย่าใช้เสียงดัง หรือการดุที่รุนแรง
  • ฝึกให้เข้าสังคม พาไปพบผู้คน สถานที่ หรือสัตว์อื่นๆ ตั้งแต่เล็ก
  • ฝึกความเชื่อฟัง เรียนรู้ให้เขาทำตามคำสั่งได้ แม้จะมีสิ่งเร้า เช่น มีเสียงดัง หรือหมาเดินผ่าน 
  • ฝึกเป็นประจำ สม่ำเสมอ ฝึกวันละนิด แต่ให้เป็นกิจวัตร

ข้อสรุป เรื่องราวของ คิชูเคน สุนัขญี่ปุ่น

คิชูเคนสุนัขญี่ปุ่น ที่มีนิสัยเงียบ สุขุม และจงรักภักดี ต่อเจ้าของสูง เป็นสุนัขที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีความสามารถพิเศษ คือ การไล่ล่า เป็นนักล่า ที่ยอดเยี่ยม ที่สำคัญคิชูเคน ยังได้รับการยกย่อง ให้เป็นสมบัติธรรมชาติ ของญี่ปุ่นอีกด้วย 

คิชูเคนในประเทศไทยพบได้ยากไหม?

คิชูเคนในประเทศไทย ถือว่าพบได้ยากมาก เพราะเป็นสายพันธุ์สุนัข ที่มีค่อนข้างจำกัด และเป็นสมบัติธรรมชาติ ของญี่ปุ่น อีกทั้งยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก และแพร่หลาย ในประเทศไทย ทำให้มีผู้นำเข้า และเพาะพันธุ์น้อยมาก

คนแบบไหนเหมาะกับการเลี้ยงคิชูเคน?

คิชูเคนเหมาะกับคนใจเย็น สุขุม และมีความมั่นคง ทางอารมณ์ มีเวลาให้สุนัขสม่ำเสมอ เข้าใจธรรมชาติของสุนัขที่รักสงบ และไม่ขี้อ้อน ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง และพร้อมฝึกแบบอ่อนโยน ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงให้ความเคารพในพื้นที่ส่วนตัว ของสุนัขด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง