
ดอกราชพฤกษ์ ไทย ดอกไม้มงคลประจำชาติ
- หัวใจสีเขียว
- 207 views
ดอกราชพฤกษ์ ไทย เป็นดอกไม้ประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ ของประเทศไทย ราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้มงคล ที่มีสีเหลืองสด ซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเป็นสีที่สื่อถึง ศาสนาพุทธ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะปลูกไว้ใน สถานที่ราชการ หรือวัด เพื่อความเป็นสิริมงคล
ดอกราชพฤกษ์เป็นหนึ่งใน ดอกไม้มงคล ไทย และเป็นพืชพื้นเมืองของ เอเชียใต้ โดยเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ ปากีสถาน ไปจนถึงประเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และประเทศไทย นอกจากดอกราชพฤกษ์ จะเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยแล้ว ยังเป็นดอกไม้ประจำรัฐเกรละ ของประเทศอินเดียอีกด้วย [1]
ชื่อของดอกราชพฤกษ์ ในแต่ละท้องถิ่น จะมีการเรียกที่แตกต่างกันออกไป แต่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า คูน หรือคูณ ในทางภาคใต้เรียกว่าราชพฤกษ์, ภาคเหนือเรียกว่าลมแล้ง, ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่าลักเคย หรือลักเกลือ ส่วนชาวมอญเรียกว่าปะกาวกราน เพราะดอกไม้ชนิดนี้ มักจะออกดอกได้ดีใน ช่วงสงกรานต์
เหตุผลหลักๆ ที่ดอกราชพฤกษ์ ถูกเลือกให้เป็น ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ เป็นหนึ่งใน ดอกไม้มงคล นิยมบูชา ที่คนนิยมปลูก และมีประวัติ เกี่ยวกับประเพณีสำคัญมากมาย อีกทั้งยังมีประโยชน์ที่หลากหลาย สามารถนำมาใช้เป็น ยารักษาโรค หรือเอาลำต้น มาเป็นเสาเรือนได้ ที่สำคัญยังมีดอกเป็น สีเหลืองอร่าม เปรียบเสมือนตัวแทนของ สัญลักษณ์ แห่งศาสนาพุทธ [2]
ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติ ที่มาพร้อมกับความเชื่อว่า เป็นดอกไม้มงคลแห่งพระพุทธศาสนา นำมาซึ่งความรุ่งโรจน์ มีสีเหลืองที่ดูสง่า เมื่อดอกเบ่งบานจะให้ ความรู้สึกอบอุ่น เป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศ และศักดิ์ศรี ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ รู้จักกันดีในชื่อ ดอกคูณ [3]
โดยส่วนใหญ่คนไทย จะนิยมปลูก ต้นราชพฤกษ์ ไว้ในบริเวณบ้านเรือน เพื่อเสริมความเป็น สิริมงคล และให้ร่มเงา รวมช่วยเพิ่มความร่มรื่น ให้กับที่พักอาศัย และยังนิยมปลูกไว้ตามวัด หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เพราะดอกราชพฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์ของ ศาสนาพุทธ และสีของดอก เป็นสีแห่งความบริสุทธิ์ ที่เชื่อมโยง กับพระพุทธศาสนา
สรุป ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติ ที่มาพร้อมกับประโยชน์ที่หลากหลาย เป็นต้นไม้ที่ ดูแลง่าย และมีความสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกเป็น ไม้ประดับริมถนน หรือในสวนเพื่อเพิ่มร่มเงา และความสวยงาม ของสถานที่ หรือที่พักอาศัย จะออกดอก สวยงามมากที่สุด ในช่วงฤดูร้อน
การขยายพันธุ์ ของต้นราชพฤกษ์ สามารถทำได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ การปักชำ และเพาะเมล็ด ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ ก็จะมีขั้นตอนการทำ ที่แตกต่างกันออกไป การเพาะเมล็ดจะง่าย และโตไวกว่า ส่วนการปักชำ จะค่อนข้างใช้เวลานาน และรากงอกค่อนข้างช้า
ดอกราชพฤกษ์จะไม่มี กลิ่นหอม ที่แรงเหมือนกับ ดอกแก้ว กลิ่นหอม หรือดอกมะลิ แต่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ในช่วงที่ดอกบานอย่างเต็มที่ ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้จะออกดอก ในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม