
ตำนาน นกทูรุล (Turul) เหยี่ยวประจำชาติฮังการี
- Jynx
- 90 views
ตำนาน นกทูรุล (Turul) เป็นนกเหยี่ยวของชาวฮังการี และประเพณีชาวเติร์ก มีต้นกำเนิดในราชวงศ์ Árpád พร้อมเรื่องเล่าเกี่ยวกับการก่อตั้งประเทศ (คาร์เพเทียน) โดยมีประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
ความหมายของ “Turul” อาจจะมาจากภาษาเตอร์กิกอย่าง togrıl หรือ turgul แปลว่า นกล่าเหยื่อขนาดกลางถึงใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Accipitridae และอาจมาจากภาษาฮังการีอย่าง sólyom หมายถึงเหยี่ยว
รวมไปถึงคำโบราณ 3 คำ ที่ชาวฮังการีหรือชาวม็อดยอร์ ใช้เรียกเหยี่ยวชนิดต่างๆ ได้แก่ kerecsen (เหยี่ยวเซเกอร์), zongor (เหยี่ยวยักษ์) และคำว่า turul ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นที่มาของ ตำนาน นกทูรุล
ตำนานนกของฮังการี แบ่งออกเป็น 2 เรื่องเล่ายอดนิยม โดยเรื่องแรกเป็นของเชื้อสายราชวงศ์ นามว่า Emese และเรื่องที่สองเชื่อว่า ทูรุลเป็นวิญญาณพิทักษ์อัลโมส ซึ่งถูกเล่าคล้ายๆ กับตำนานนกซิเมิร์ก ในมหากาพย์ของชาวอิหร่าน โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้
ความฝันของ Emese
เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 860-870 ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร Chronicon Pictum จากยุคกลาง เล่าว่าเอเมเซ่เป็นภรรยาของ Ügyek และให้กำเนิดเจ้าชายองค์แรก ของชาวฮังการีนามว่า Álmos ในคืนหนึ่งเธอฝันถึงนกทูรุล และเห็นแม่น้ำไหลออกจากขาของเธอเอง
ซึ่งความฝันดังกล่าว ถูกตีความว่า เธอจะให้กำเนิดบุตรชาย ที่จะนำพาพวกเขาจากถิ่นอาศัยเดิมอย่าง Levédia ไปพบอาณาจักรใหม่ และทำนายว่า สายเลือดของเธอจะกลายเป็นกษัตริย์ และเมื่อลูกชายเธอโตขึ้น เขาเป็น 1 ใน 7 ผู้นำเผ่า ที่พาไปพบกับแอ่งคาร์เพเนีย หรือฮังการีในปัจจุบัน [1]
เป็นนิทานเกี่ยวกับชาวฮังการี ออกเดินทางไปยังอาณาจักร ของราชาอัตติลา (Attila) ก่อนจะพากันหลงทาง แต่แล้วก็มีนกเหยี่ยวมาช่วยเหลือ โดยบินอยู่เหนือศีรษะของเจ้าชาย จากนั้นพวกเขาก็เดินตามนกไป จนท้ายที่สุด พวกเขาก็เดินทางไปถึงแพนโนเนีย (Pannonia)
ต่อมาไม่นาน เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ เนื่องจากมีแร้งเป็นพาหนะ มันจึงถูกทูรุลเข้าโจมตี และเหยี่ยวก็หายไปอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังมีนิทานความฝันของผู้นำเผ่า ว่าถูกนกอินทรีโจมตี ก่อนที่ทูรุลจะเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งบทบาทดังกล่าว คล้ายกับ Vedfolnir หรือ ตำนานแฮสเวลกร์ คืออะไร ของนอร์ส
การใช้สัญลักษณ์รูปเหยี่ยว เกิดขึ้นครั้งแรกในฮังการี เมื่อศตวรรษที่ 9-10 โดยราชวงศ์อาร์พาด (1,000-1,301) โดยในหนังสือเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ประเทศเล่มแรก บรรยายว่าราชวงศ์นี้ สืบเชื้อสายมาจากสกุลทูรุล ทำให้บางครั้งพวกเขาถูกเรียกว่า ราชวงศ์ทูรุล
นกทูรุลในปัจจุบัน พบเห็นได้ในรูปแบบของประติมากรรม โดยรูปปั้นที่มีชื่อเสียง ยกตัวอย่างเช่น รูปปั้นที่สร้างขึ้นในปี 1905 โดย Gyula Donáth ตั้งอยู่บนประตูพระราชวังหลวงบูดาเปสต์ (Budapest) บริเวณปราสาทบูดาอัน เมืองหลวงของประเทศ โดยมีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้
โดยมีวิธีเยี่ยมชมรูปปั้น 3 แบบ ได้แก่
ฮังการีในช่วงเวลานี้ มีรูปปั้นนกทูรุลอย่างน้อย 195 ตัวทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
และยังมีนอกฮังการีอีกหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น โรมาเนีย 48 ตัว, สโลวาเกีย 7 ตัว, เซอร์เบีย 5 ตัว, ยูเครน ออสเตรเลีย และโครเอเชีย 1 ตัว นอกจากนี้ ยังถูกใช้เป็นลวดลายโลโก้ ประจำหน่วยงานราชการต่างๆ
เช่น ตราและธงของกองกำลังป้องกันประเทศ, โลโก้ศูนย์ต่อต้านก่อการร้าย, โลโก้ของสำนักงานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, ธงประจำรัฐบานาเต, เหรียญมูลค่า 50 ฟอรินต์, แสตมป์ฉบับแรกของฮังการี (1900) เป็นต้น
ที่มา: Modern use, Gallery [3]
ตำนานนกเหยี่ยวทูรุล ถูกเล่าขานโดยชาวฮังการีกลุ่มแรก มันถือว่าเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้อง กับการสร้างประเทศ ราชวงศ์ รวมถึงเจ้าชายองค์แรก เป็นที่รู้จักเริ่มต้นในศตวรรษที่ 9 ถึง 10 และมีความสำคัญมาจนถึงปัจจุบัน
ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้อง พลังอำนาจ ความสามัคคี อดทน แข็งแกร่ง และในฐานะผู้ชี้นำ
ในศตวรรษที่ 16 มีการกำหนดให้ใช้ ตราสัญลักษณ์ประจำทรานซิลเวเนียครั้งแรก โดยเป็นลวดลายนกสีดำ พื้นหลังน้ำเงิน เชื่อว่าสื่อถึงชาวฮังการี พระอาทิตย์และพระจันทร์ซ้ายขวา หมายถึงชาวเซเคลิส ส่วนหอคอย 7 แห่ง เป็นป้อมปราการของชาวแซกซัน