
ตำนาน นกฮูมา (Huma) ฉายาฟีนิกซ์แห่งเปอร์เซีย
- Jynx
- 104 views
ตำนาน นกฮูมา (Huma) วิหคที่ถูกเล่าถึงโดยชาวอิหร่าน พบภาพวาดได้ในบทกวีของสุฟีและดีวาน ว่ากันว่า มันไม่เคยเหยียบพื้นดิน บินอยู่แค่บนฟ้า และจะเผาไหม้ตัวเองทุกๆ 100 ปี ส่วนประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ศึกษาต่อด้านล่าง
คำว่า ตำนาน นกฮูมา (هما) หมายถึง นกมหัศจรรย์ของเปอร์เซีย แต่ชาวอินเดียมักรู้จักในชื่อโฮมา (Homa) มีความหมายว่า “ไฟบูชายัญ” ซึ่งเชื่อมโยงกับการที่นกจะเผา แล้วเกิดใหม่จากเถ้าถ่านตัวเอง เหมือนกับนกฟีนิกซ์
ในตำนานชาวเปอร์เซีย ฮูมาอยู่ในฐานะเดียวกับฟีนิกซ์แห่งกรีก ถูกกล่าวว่าเป็นนกกินกระดูก ไม่อันตราย และมีบทบาทสำหรับงานแกะสลักเสาร์ปาร์เซห์ หรือเสาเปอร์เซโปลิส (Persepolis) อีกทั้งยังมีหลักฐานรูปปั้นหิน 2 รูป ในซากของเมืองหลวงอาคีเมนิด (Achaemenid) อีกด้วย
โดยคนสมัยก่อนเชื่อว่า หากอาณาจักรใดไม่มีรัชทายาท นกฮูมาจะเป็นผู้เลือกให้ โดยการไปนั่งบนบ่า และถือว่าคนนั้นเป็นคนบริสุทธิ์ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข เมื่อพบเห็นถือเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ยังยกให้เป็นตัวแทนความเจริญ ในวรรณคดีหลายเรื่อง
ที่มา: Homa in Persian myths [1]
ในนิทานพื้นบ้านส่วนใหญ่ บอกว่ามันเป็นผู้ส่งสารโชคลาภ โดยเวอร์ชันหนึ่งเล่าว่า กษัตริย์ได้เจอกับนก ซึ่งบอกกับเขาว่าหากตามหาหัวใจ และมองเห็นค่าของตัวเอง จะได้รับพรให้มีโชคและรุ่งเรือง กษัตริย์ทำตามคำแนะนำของนก แล้วได้ครองราชย์อย่างยาวนาน
ส่วนอีกเวอร์ชันเล่าว่า มีชายหนุ่มพบกับนก ระหว่างเดินอยู่ในทะเลทราย ฮูมาสอนเขาเกี่ยวกับความลับจักรวาล แล้วช่วยให้เขาเจอกับจุดหมายของชีวิต ซึ่งเชื่อมโยงกับความเชื่อ ที่อ้างว่าถ้าใครเห็นนกปรากฏตัว จะทำให้ความปรารถนาเป็นจริง แล้วนกนำความสุขมาให้
ที่มา: Folktales and Stories [2]
การจับตัวนกชนิดนี้ เป็นเรื่องเกินคาด เนื่องจากเชื่อว่า ถ้าใครฆ่ามันจะอยู่ได้ไม่เกิน 40 วัน แต่ถ้าเงาของนกตกลงบนตัวใคร จะถือว่าโชคดี หรืออาจกลายเป็นผู้ปกครอง ซึ่งมีอำนาจทำให้เกิดได้ทั้งเรื่องร้ายและดี เหมือนกับ ตำนาน นกอลิกันโต ซึ่งพรรณนาหน้าตาไว้ ดังนี้
อ้างอิงข้อมูลจากบทกวีออตโตมัน (Ottoman) เรียกนกชนิดนี้ว่านกสวรรค์ อธิบายว่าไม่มีปีก ไม่มีขา บินอยู่บนฟ้าตลอดเวลา หรือจะเป็นในบทกวีเรื่อง The Conference of the Birds ชาวลัทธิซูฟี พรรณนาว่าโฮมาเป็นลูกศิษย์ ที่ปฏิเสธการออกเดินทาง
ในวรรณกรรมอิหร่าน หน้าที่มอบตำแหน่งราชา นกฮูมาต้องยืนตรงข้ามกับอีกา จากนั้นบทบาทนี้ ยังถูกเล่าอีกครั้งในนิทานอินเดีย สมัยราชวงศ์โมกุล และนอกจากเปอร์เซีย นกดังกล่าวยังถูกเอ่ยถึง ในวรรณกรรมตุรกี
รวมถึงวรรณกรรมสินธุของปากีสถาน ประเพณีดิวาน และในจดหมาย Zafarnama ของคุรุซิกข์องค์ที่ 10 ซึ่งส่งถึงจักรพรรดิโมกุล “ออรังเซพ (Aurangzeb)” โดยพรรณนาถึงนกชนิดหนึ่ง ว่าเป็นวิหคที่มีพลังและเป็นสัตว์มงคล
ที่มา: Myths and legends [4]
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ ความจริงของโฮมา คนกลุ่มใหญ่เสนอว่า ปัจจุบันมันคือนกกินกระดูก หรือแร้งมีเครา เป็นนกแร้งลำตัวใหญ่ อาศัยบนภูเขาในแอฟริกา ยุโรปใต้ และเอเชีย ซึ่งอาหารประมาณ 85% ถึง 90% คือกระดูก ส่วนข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติม มีดังนี้
ตำนานของนกฮูมาหรือโฮมา เป็นฟีนิกซ์ของชาวอิหร่าน ที่เล่าถึงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น นกบูชายัญ นกผู้เลือกกษัตริย์ นกที่ไม่เคยเหยียบพื้นดิน หรือนกแห่งความสุข ซึ่งต้นกำเนิดจริงๆ ส่วนใหญ่คิดว่ามาจากตำนานกรีก และตัวตนในปัจจุบัน คือ นกแร้งมีเครา
อ้างอิงจากตำนานอินเดีย เชื่อว่านกฮัมซา (Hamsa) เป็นหงส์ยักษ์ ตัวแทนของปัญญา เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ในขณะที่ฮูมาหน้าตาเหมือนนกล่าเหยื่อ (แร้ง) ตัวแทนความสุข กล่าวถึงในลัทธิซูฟี ส่วนนกฮูกหรือนกเค้าแมว เป็นนกปีศาจ ลางร้าย อาทิเช่น เรื่องราว นกอุลามะ ทั้งสามจึงไม่ใช่ตัวเดียวกัน
คำว่าฮูมา ถูกนำไปตั้งชื่อให้กับดาวเคราะห์น้อย 3988 Huma ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 700-800 เมตร ที่ค้นพบโดยหัวหน้าศูนย์วิจัย NETA ชื่อว่า เอลีเนอร์ เอฟ. เฮลิน (Eleanor F. Helin) วันที่ 4 มิถุนายน 1986