
ต้นกาหลง สรรพคุณ พร้อมประโยชน์หลากหลายด้าน
- หัวใจสีเขียว
- 153 views
ต้นกาหลง สรรพคุณ ทางสมุนไพร ต้นไม้ น่าปลูก ที่สามารถใช้รักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น เปลือกต้น มีสรรพคุณสมานแผล แก้ท้องเสีย และรักษาโรคผิวหนัง ใบ ใช้เป็นยาแก้ไอ ช่วยลดไข้ ดอก สามารถนำมาชงดื่ม เพื่อรักษาร่างกายได้ และราก ใช้ต้มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ และช่วยฟื้นฟู ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
กาหลงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม เมื่อตกแต่งแล้ว จะมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม คนส่วนใหญ่ นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับ กาหลงจะผลัดใบ ในช่วงฤดูหนาว และแตกใบอ่อน ในช่วงฤดูร้อน เริ่มออกดอก ในช่วงฤดูฝน ดอกของกาหลง จะออกบริเวณก้านใบตามข้อโคน
มีลักษณะเป็นสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกัน และมีเกสรคล้ายเส้นด้ายประมาณ 5 เส้น ยื่นออกมาจากตัวดอก เมื่อดอกโตเต็มที่จะมีขนาด 5 เซนติเมตร ใน 1 ช่อ จะมีประมาณ 5 – 8 ดอก [1]
กาหลงเป็นดอกไม้ ประจำจังหวัดสตูล โดยมีชื่อเรียกพื้นเมืองอื่นๆ คือ ส้มเสี้ยว, เสี้ยวดอกขาว, กาแจ๊ะกูโด และเสี้ยวน้อย กาหลงเป็นต้นไม้ ที่ปลูกง่าย และมีประโยชน์หลากหลายด้าน เป็นทั้งไม้ประดับ และสมุนไพร [2] อีกทั้งยังเป็น ต้นไม้ที่ช่วยปรับปรุง คุณภาพดิน เนื่องจากต้นกาหลง เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น และเหมาะสำหรับปลูกพืชชนิดอื่น
ต้นกาหลงในประเทศไทย ที่คนส่วนใหญ่นิยมปลูก จะมีอยู่ทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ กาหลงแดง และกาหลงขาว ลักษณะของกาหลงขาว จะมีลำต้นสูงประมาณ 1 – 3 เมตร เปลือกผิวเรียบ สีน้ำตาล
ดอกสีขาว 1 ช่อ มีประมาณ 2 – 3 ดอก และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ส่วนกาหลงแดง จะมีลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร ออกดอกเป็นช่อ 1 ช่อ มีประมาณ 2 – 10 ดอก ตัวดอกมีสีแดงเข้ม และขนาดของกลีบดอกจะไม่เท่ากัน [3]
ต้นกาหลงเป็นสัญลักษณ์ แห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน เชื่อกันว่าผู้ที่ปลูกต้นกาหลง ไว้ภายในบ้าน จะเป็นคนสุภาพ อ่อนโยน และมีสัมมาคารวะ อีกทั้งยังเป็น ต้นไม้มงคล รวยทรัพย์ ที่ช่วยเสริมโชคลาภ และหน้าที่งาน
ต้นกาหลงเป็นพืชที่ ออกดอกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งสื่อถึง ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน บางความเชื่อได้กล่าวไว้ว่า หากปลูกกาหลง ทางทิศตะวันออก ของบ้าน จะช่วยเสริมโชคลาภ และความมั่นคงในชีวิต
สรุป ต้นกาหลง ไม้มงคลที่มาพร้อมกับ สรรพคุณทางด้านสมุนไพร และประโยชน์ที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ้ง เหมาะสำหรับปลูกในบ้าน และสวน เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งที่พักอาศัย ให้สวยงามได้
ต้นกาหลงสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีหลักๆ คือ การเพาะเมล็ด และ การตอนกิ่ง เช่นเดียวกับการปลูก กระดังงา กลิ่นหอม ถ้าต้องการขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก ให้ใช้วิธีการการเพาะเมล็ด แต่ถ้าหากอยากให้ โตเร็ว และได้ลักษณะเหมือนต้นดั้งเดิม ให้ใช้การตอนกิ่ง
ต้นกาหลงเจริญเติบโตค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อมันโตเต็มที่แล้ว จะสามารถสูงได้ถึง 5 – 6 เมตร การเจริญเติบโตของต้นกาหลง จะดีขึ้นหากปลูกใน ดินที่มีการระบายน้ำดี และได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ รวมถึงการใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุอาหารที่ครบถ้วน