
นกฝนในตำนาน คืออะไร (Rain Bird) เป็นที่รู้จักกี่สายพันธุ์
- Jynx
- 83 views
นกฝนในตำนาน คืออะไร (Rain Bird) คือรายชื่อวิหคจากเรื่องเล่า ซึ่งเชื่อกันว่า สามารถทำให้เกิดพายุฝน หรือเป็นตัวทำนายว่าฝนจะตกได้ โดยบางครั้งถูกเรียกว่า “นกพายุ” ส่วนประวัติศาสตร์เพิ่มเติม อ่านต่อด้านล่าง
นกฝนในตำนานที่คนรู้จัก ในบทความนี้ขอแนะนำจาก 2 เรื่องเล่า ได้แก่ ธันเดอร์เบิร์ด ของชาวอเมริกัน และนกซ่างหยางของชาวจีน ส่วนอีกข้อมูลคือ นกที่มีอยู่จริงชื่อว่า นกกาเหว่าแปซิฟิก หรือนกกาเหว่าตะวันออก ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์ นกฝนในตำนาน คืออะไร อ่านต่อในหัวข้อต่อไป
นกฝนจากตำนานอเมริกัน หรือ Thunderbird มีบันทึกกล่าวถึง เมื่อช่วงปี ค.ศ. 800-1600 ในถิ่นกำเนิดเดียวกันกับ เรื่องราว นกเปียซ่า ในรัฐมิสซิสซิปปี เชื่อว่าเป็นนกที่ทำให้ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเปลี่ยนรูปร่างได้ ยกตัวอย่างชนเผ่าที่เล่าถึง เช่น
ที่มา: Thunderbird in Various Native American Tribes [1]
ตามทฤษฎีของนักวิทยาการสัตว์ลึกลับ ที่อ้างว่าเห็นนกสายฟ้า ในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเขาชื่อว่า Mark A. Hall และได้ตีพิมพ์หนังสือ เพื่ออธิบายหน้าตาของนก ดังนี้
และนอกจากทฤษฎีของมาร์ค ยังมีอีกหลายคนตั้งข้อเสนอขึ้นมา อาทิเช่น Claude Schaeffer บอกว่าอาจเป็นนกโอมักซาพิเทา (Omaxsapitau) / Karl Shuker เสนอว่ามันเป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีอยู่จริง หรือเป็นนกล่าเหยื่อ 3 สายพันธุ์ ได้แก่
อินทรีแดง (Golden Eagle), แร้งแคลิฟอร์เนีย (California Condor) , และเทอร์ราทอร์นที่ยังไม่ถูกพบ
ที่มา: Theories [2]
การพบเห็นนกสายฟ้า ที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปี 1860 ณ ประเทศแคนาดา โดยชาวชนเผ่าแบล็กฟุต ต่อมาในปี 1925 นักเดินป่าพบบริเวณหอคอยบาเบล จนถึงปี 1940 ชนเผ่าอินเดียครีอ้างว่าเห็นนก และรายงานสุดท้ายคือปี 1974 พี่น้องจากควิเบก เห็นนกบริเวณหมู่บ้านลูวิกูร์
นกฝนจากตำนานชาวจีน มีชื่อว่า ซ่างหยาง (商羊) พรรณนาว่ามันเป็นนกทำนายฝน มีความสัมพันธ์กับเทพเจ้าหยูซื่อ (Yu Shi) เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งซ่างหยางบินไปยังราชสำนักฉี แล้วแสดงเต้นรำด้วยขาเดียว
หลังจากมันแสดงจบ ขงจื๊อประจำรัฐลู่ บอกว่าเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการทำนายว่าฝนจะตกหนัก จึงแนะนำให้ขุดคลองและสร้างเขื่อน ซึ่งทำให้ราชสำนักฉี รอดพ้นจากภัยพิบัติ ในขณะที่นักเขียนนิทานชื่อ Lihui Yang เชื่อมโยงเทพเจ้าหยูซื่อกับนกปี่ฟาง (畢方) ไม่ใช่นกซ่างหยาง [3]
สำหรับนกฝนที่มีอยู่จริง มีหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น นกกาเหว่าแปซิฟิก, นกกาเหว่าตะวันออก, นกอีสเทิร์นโคเอล, นกโคเอลตะวันออก, โคเอลธรรมดา เป็นต้น โดยสาเหตุที่ถูกเรียกว่านกฝน เนื่องจากก่อนฝนจะตก นกตัวนี้จะส่งเสียงร้อง ส่วนข้อมูลจำเพาะอื่นๆ มีดังนี้
โดยสรุปแล้ว นกฝนหรือนกพายุ เป็นวิหคที่มักเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ไม่ใช่เพียงแค่ฝนตก แต่ยังหมายถึงทุกสิ่งบนท้องฟ้า โดยเชื่อว่าเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น ทำนาย หรือแจ้งเตือน ซึ่งมีทั้งชนิดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน และชนิดที่สูญพันธุ์ รวมถึงเล่ากันในตำนาน
นอกจากสามชื่อที่กล่าวมา ยังมีนกของชาวยุโรปยุคเก่า ที่เป็นสัญลักษณ์และสัญญาณเตือน ว่าฤดูฝนกำลังจะมา นั่นคือนกหัวขวาน (woodpecker) หรือนกพิคัส (Picus-bird) ในพิธีกรรมเรียกฝน จึงมีการตีกลองเลียนแบบเสียงของนก
ในประเทศออสเตรเลีย รู้จักนกพายุในชื่อ นกกาน้ำแปซิฟิก (Pacific koel) ส่วนความหมายโดยทั่วไปของนกพายุ คือนกมาโนวาร์ (man-o’-war bird) เชื่อว่ามันเป็นลางบอกเหตุ เมื่อพายุกำลังจะมา