
ประวัติศาสตร์ นกโดโด้ (Dodo) สัตว์บินไม่ได้แห่งเกาะมอริเชียส
- Jynx
- 79 views
ประวัติศาสตร์ นกโดโด้ (Dodo) มันเป็นสัตว์ปีกบินไม่ได้ เคยมีถิ่นกำเนิดในเกาะมอริเชียส โดยถูกค้นพบจากชาวโปรตุเกสเป็นกลุ่มแรก ในปี ค.ศ. 1505-1507 จนกระทั่งนกสูญพันธุ์เมื่อปี 1681 ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ ศึกษาต่อด้านล่าง
เดิมทีชื่อแรกที่ใช้เรียก ประวัติศาสตร์ นกโดโด้ คือ Walghvoghel ตั้งขึ้นโดยพลเรือชาวดัตช์ โดยเป็นการนำ 2 คำอย่าง Walghe แปลว่า จืดชืด และคำว่า voghel แปลว่า นก หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มคน ก็เรียกนกชนิดนี้ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น fotilicaios, Dronte, griff-eendt, kermisgans เป็นต้น
จากบันทึกของกะลาสีเรือ จากโปรตุเกสในปี 1507 เป็นการพบเห็นนกชนิดนี้ครั้งแรก ก่อนที่จะมีชาวดัตช์มาถึงเกาะ และนกบินไม่ได้จึงกลายเป็นเป้าหมายการล่าสัตว์ เนื่องจากพวกมันไม่กลัวมนุษย์ และวางไข่บนพื้นดิน เมื่อชาวยุโรปเพิ่มมากขึ้น จำนวนนกจึงค่อยๆ ลดลง
เนื่องจากมีการนำสัตว์อื่น เช่น กวาง หมู แพะ ไก่ สุนัข หรือแมว เข้ามาในเกาะ ในปี 1690 นกได้สูญพันธุ์จากป่า โดยตัวสุดท้ายที่คนรู้จัก ตายในกรงเมื่อปี 1681 และเชื่อว่านกดังกล่าว สูญพันธุ์ถาวรระหว่างปี 1681-1693 [1] แต่การยอมรับว่านกสูญพันธุ์แล้วจริงๆ เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 19
การมาถึงเกาะของนกโดโด้ ไม่แน่ชัดว่าคือเมื่อไหร่ โดยจากการศึกษาเมื่อปี 2002 พบว่าพวกมันเป็นญาติกับสายพันธุ์ โรดริเกซ โซลิแทร์ (Pezophaps solitaria) โดยพวกมันปรับตัวด้วยการเพิ่มขนาดตัว ทำรังบนดิน แล้วค่อยๆ บินไม่ได้ ซึ่งมีสัตว์นักล่าบนเกาะไม่กี่ตัว แต่ถูกล่าจากมนุษย์และสัตว์เลี้ยงแทน
ถิ่นกำเนิดของโดโด้ อยู่บนเกาะมอริเชียส (Mauritius) ในยุคที่ยังไม่เป็นประเทศ เกาะนี้ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทวีปแอฟริกา เป็นพื้นที่ของมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากทิศตะวันออกมาดากัสการ์ราว 900 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,040 ตร. กม. ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม มีดังนี้
ที่มา: ประเทศมอริเชียส [2]
ข้อแรกคือมันบินไม่ได้ อยู่ในกลุ่มเดียวกับนกเพนกวิน นกกระจอกเทศ หรือไก่ ข้อต่อมาคือมันวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง เนื่องจากแต่ก่อน ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ มันจึงวางไข่แค่ฟองเดียว และทำรังบนดิน ซึ่งสองข้อเท็จจริงนี้ อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผล ที่ทำให้มันสูญพันธุ์
ญาติใกล้ชิดของโดโด้ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในตอนนี้ คือ นกพิราบพันธุ์ชานิโคบาร์ หรือชื่อไทยว่า “นกชาปีไหน” อาศัยบนหมู่เกาะอันดามัน เกาะมาเลย์ ไปจนถึงเกาะปาเลา แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ C. n. nicobarica และ C. n. pelewensis Finsch และมีข้อมูลจำเพาะที่น่ารู้ ดังนี้
ที่มา: Nicobar pigeon [4]
ประวัติศาสตร์นกบินไม่ได้ บนเกาะมอริเชียส ที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อก่อนปี 1700 ถูกพบเห็นโดยชาวโปรตุเกส แต่ถูกล่าโดยชาวดัตช์ ความพิเศษคือวางไข่แค่ครั้งละฟอง ขนสีเทา หางสีขาวล้วนเป็นกระจุก ปัจจุบันสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่า อยู่ในตระกูลเดียวกัน ก็มีโอกาสสูญพันธุ์อีกไม่นาน !
จากคำกล่าวของเบธ ชาปิโร (Beth Shapiro) ซึ่งเป็นนักชีววิทยาโมเลกุล จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ บอกว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก DNA ของนกมีน้อยมาก แถมยังมีการสืบพันธุ์ที่ซับซ้อน และถิ่นอาศัยของมันยังเปลี่ยนไปอีกด้วย
หากต้องการเยี่ยมชม ซากนกโดโด้ มีจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่เดียวที่มีฟอสซิลเหลืออยู่ ประกอบด้วย กะโหลกศีรษะด้านซ้าย, กระดูกดวงตา, กระดูกต้นขา หรือสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ University of Oxford