แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ คาสิโน บาคาร่า ไฮโล ครบพร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

พันธุ์หมา น่าเลี้ยง เพื่อนซี้คู่ใจที่มาในรูปแบบสี่ขา

พันธุ์หมา น่าเลี้ยง

พันธุ์หมา น่าเลี้ยง ในไทยปัจจุบันมีอยู่มากมาย หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งจะมีทั้งสายพันธุ์ไทย และ พันธุ์หมา ต่างประเทศ โดยแต่ละสายพันธุ์ ก็จะมีลักษณะ นิสัย ที่แตกต่างกันออกไป บางคนเลี้ยงไว้ เพื่อคลายเหงา เพราะหมาเป็นสัตว์เลี้ยง ที่ซื่อสัตย์ และรักเจ้าของ แต่บางคนก็เลี้ยงไว้ เฝ้าบ้าน เพราะหมามีสัญชาตญาณ ในการระวังภัย สามารถเห่าเตือน เมื่อมีสิ่งผิดปกติ เข้ามาภายในบ้านได้

  • ประวัติที่มาของหมา
  • วิธีการเลี้ยงสุนัขให้เชื่อง

รู้จักกับประวัติที่มา ของหมา

หมา หรือที่บางคน เรียกว่า สุนัข เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีความเชื่อว่าวิวัฒนาการ ของหมา นั้นพัฒนามาจาก สายพันธุ์ของหมาป่า 4 กลุ่มใหญ่ คือ หมาป่าจีน หมาป่ายุโรป หมาป่าอเมริกาเหนือ และหมาป่าอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันหมา เป็นสัตว์เลี้ยง ที่มีมากกว่า 400 สายพันธุ์เลยทีเดียว [1] 

เผยลักษณะโดยทั่ว และประสาทสัมผัสของหมา

ลักษณะโดยทั่วไปของหมา หรือสุนัข คือ ลำตัวมีขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ผิวหนังปกคลุมด้วยขน ซึ่งมีหลากหลายสี และความยาว ตามสายพันธุ์ เช่น หมาแคโรไลน่า ขนตรง ดวงตาส่วนใหญ่ เป็นสีน้ำตาล หรือดำ หูมีทั้งแบบตั้ง และแบบหูตก

อีกทั้งยังเป็นสัตว์ ที่ประสาทสัมผัสที่ดี ซึ่งประสาทสัมผัส ของหมา คือ การได้ยิน การมองเห็น การรับรู้ถึงรสชาติ การสัมผัส และการดมกลิ่น เรียกได้ว่าหมา เป็นสัตว์ที่ตอบสนองได้ไวมาก [2]

วิธีการเลี้ยงสุนัขให้เชื่อง ควรทำอย่างไร?

  • เริ่มฝึกตั้งแต่ยังเล็ก : ควรเริ่มฝึกตั้งแต่ อายุ 2 – 4 เดือน ด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น นั่ง, คอย, มา เป็นต้น 
  • ให้รางวัลเมื่อเขาทำได้ดี : เมื่อเขาทำได้ ก็ควรได้รางวัล หรือคำชม การทำแบบนี้จะทำให้สุนัข เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ว่าอะไรคือสิ่งที่เจ้าของต้องการ
  • มีตารางชีวิตที่แน่นอน : ให้อาหารเวลาเดิม ออกไปเดินเล่น หรือเล่นด้วยเวลาเดิมทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ
  • พาออกไปเจอสังคม : พาไปพบคนแปลกหน้า หมาตัวอื่นๆ หรือสถานที่ใหม่ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • ห้ามตีหรือใช้ความรุนแรง : การลงโทษที่รุนแรง จะทำให้หมากลัว และไม่ใช่เชื่อฟัง
  • ฝึกอย่างอดทน : อย่าคาดหวังให้ หมาเชื่อง ภายในวันเดียว ต้องใช้เวลา และฝึกซ้ำๆ อย่างใจเย็น

สัญชาตญาณการเอาตัวรอดของหมา คืออะไร?

พันธุ์หมา น่าเลี้ยง

หมาเป็นสัตว์ที่ ว่ายน้ำได้โดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัญชาตญาณ โดยทั่วของหมา ทุกสายพันธุ์ มันสามารถขยับขาว่ายน้ำ พร้อมเงยหน้าขึ้นเหนือน้ำได้ และบางสายพันธุ์ ยังชอบน้ำเป็นพิเศษด้วย [3] การว่ายน้ำ จะทำให้หมา ได้ใช้กล้ามเนื้อหลายส่วน เช่น ขา สะโพก และหลัง ส่งผลให้สุขภาพร่างกายของมัน แข็งแรงมากขึ้น และยังช่วย คลายร้อน ลดความเครียด และอารมณ์หงุดหงิด ได้เป็นอย่างดี

หมาส่วนใหญ่มีอายุขัยอยู่ได้กี่ปี?

หมาหรือสุนัขส่วนใหญ่ มักมีอายุขัย เฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับ สายพันธุ์ ขนาดตัว และการดูแล เช่น พันธุ์เล็กจะมีอายุยืน กว่าพันธุ์ใหญ่ โดยทั่วไปหมาพันธุ์เล็ก อาจอยู่ได้ถึง 16 ปี ส่วนพันธุ์ใหญ่มักอยู่ได้ราว 8 – 12 ปี เป็นต้น 

หมาเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้หาง ในการสื่ออารมณ์

  • กระดิกหางเร็ว และแรง สื่อถึงการดีใจ ตื่นเต้น หรืออยากเล่น 
  • กระดิกหางช้าๆ  หรือแกว่งเบาๆ สื่อถึงความสบายใจ เป็นมิตร อาการแบบนี้มักพบได้ ตอนที่หมาเจอกับ คนแปลกหน้า หรือหมาตัวอื่น
  • หางชูสูงตึง สื่อถึงการป้องกันตัว ระวังตัว หรือแสดงความมั่นใจ 
  • หางจุกไว้ใต้ขา สื่อถึงอาการกลัว กังวล หรือกำลังรู้สึกว่า ไม่ปลอดภัย 
  • หางสะบัดซ้าย-ขวาอย่างช้าและแข็ง สื่อถึงอาการหงุดหงิด เริ่มไม่พอใจ 
  • ไม่กระดิกหาง สื่อถึงอาการสงบ หรือกำลังสังเกต อะไรบางอย่าง

บทส่งท้าย เรื่องราวของ พันธุ์หมา น่าเลี้ยง

พันธุ์หมาน่าเลี้ยง มีอยู่มากมาย หลากหลายสายพันธุ์ สามารถเลือกเลี้ยงได้ ตามสไตล์ความชอบ ของตนเอง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ ก็จะมีความโดดเด่น และเอกลักษณ์ ที่แตกต่างกันออกไป การเลี้ยงหมามีประโยชน์มากมาย ใช้เฝ้าบ้าน และยังเป็นเพื่อนแก้เหงาได้ด้วย

สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา สามารถเลี้ยงหมาได้หรือไม่?

หากใครที่มีเวลา ไม่มากพอ แนะนำว่าอย่าเพิ่งเลี้ยง เพราะหมาเป็นสัตว์ที่ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความใส่ใจ และชอบทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเจ้าของ เช่น พาเดินเล่น ให้อาหาร หรือรับการฝึกฝน เพราะฉะนั้นหากเลี้ยง และปล่อยให้อยู่ตัวเดียว มากจนเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการเครียด และมีนิสัยที่ก้าวร้าวได้

สุนัขสุขภาพดี ควรมีลักษณะอย่างไร?

สุนัขที่สุขภาพดี ควรมีลักษณะโดยรวม ที่สดใส ร่าเริง ดวงตาใส ไม่มีขี้ตา หรืออาการบวมแดง ขนเงางาม แน่น ไม่ร่วงผิดปกติ ผิวหนังไม่มีแผล หรือรอยแดง อุจจาระเป็นก้อนปกติ ไม่เหลว หรือมีกลิ่น ที่แรงเกินไป มีการกิน และการนอนเป็นเวลา เดินวิ่งได้คล่อง ไม่ขาเป๋ หรือเดินเซ เป็นต้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง