แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ คาสิโน บาคาร่า ไฮโล ครบพร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

ยางอินเดีย ความหมาย ต้นไม้ที่คนไทยนิยมปลูก

ยางอินเดีย ความหมาย

ยางอินเดีย ความหมาย ที่มาพร้อมกับความเชื่อที่ว่า เป็นหนึ่งใน ต้นไม้มงคล นิยมปลูก ที่นำมาซึ่งโชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง และเป็นต้นไม้ที่ ช่วยดูดซับพลังงานลบ และเพิ่มพลังงานบวก คนส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้ ภายในบ้าน หรือสำนักงาน อีกทั้งต้นยางอินเดีย ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ความมั่นคง และการเจริญเติบโตอีกด้วย 

  • ลักษณะของต้นยางอินเดีย
  • ต้นยางอินเดียมีสายพันธุ์อะไรบ้าง
  • การขยายพันธุ์ของต้นยางอินเดีย

ต้นยางอินเดียมีลักษณะแบบไหน?

ยางอินเดีย เป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ และเป็นพืชวงศ์ Moraceae เช่นเดียวกับ ไทรใบสัก ไม้มงคล มีความสูงอยู่ที่ 15 – 25 เมตร ลำต้นเป็น สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว รูปทรงวงรี ปลายใบเรียวแหลม และมีขอบใบเรียบ เนื้อใบมีความหนา มันวาว มีดอกเป็น สีขาว ขนาดเล็ก เมื่อแก่จะกลายเป็น สีเหลือง และมีผลเป็นรูปทรงวงรี [1]

การดูแลใบเป็นสิ่งสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม

ความสวยงามของ ต้นยางอินเดีย อยู่ที่ใบ เพราะฉะนั้นผู้ปลูก ควรดูแลใบ ให้มีความสวยงาม อยู่เสมอ เช่น การทำความสะอาดใบ สามารถทำได้ด้วยการ นำผ้าชุบน้ำ มาเช็ดใบ ให้มีความเงางาม เหมาะแก่การวาง ประดับตกแต่งบ้าน และการตัดกิ่งใบ หรือตัดแต่งยอด หากเห็นว่าใบ หรือกิ่งไหน ที่แก่เกินไป ให้ตัดออก เพื่อกระตุ้นการ แตกยอด ของใบใหม่ และการเจริญเติบโต ที่ดีขึ้น [2]

สายพันธุ์ของต้นยางอินเดีย มีอะไรบ้าง?

ต้นยางอินเดียมีหลายสายพันธุ์ ที่แตกต่างกัน โดยสายพันธุ์ที่นิยม และเป็นที่รู้จักมากที่สุด มีดังนี้ 

  • ยางอินเดียดำ : เป็นพันธุ์ที่มีประโยชน์ในการ ฟอกอากาศ และมีความเชื่อว่า หากปลูกไว้ ภายในบ้าน จะช่วยเยียวยาจิตใจ และส่งเสริมผู้พักอาศัย ได้เป็นอย่างดี 
  • ยางอินเดียด่างขาว : พันธุ์นี้มีใบที่มี ลายด่าง สีเขียวอ่อน ปนสีขาว มีความสวยงาม ราคาสูง คนส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน 
  • อินเดียด่างสามสี : เป็นพันธุ์ที่มีหลากหลายสีบน ใบ และลำต้น มีทั้งสีขาว สีเขียว และสีชมพู ควรปลูกไว้ภายในบ้าน แต่ควรให้มันได้รับแสงแดดด้วย 
  • ยางอินเดียด่างสีชมพู : เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะ ใบ สีเขียว ที่ถูกแซมด้วยสีชมพู ควรปลูกไว้บริเวณริมหน้าต่าง ที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อยวันละ 3 – 5 ชั่วโมง

ที่มา : รู้จักต้นยางอินเดีย [3]

การขยายพันธุ์ ของต้นยางอินเดีย

ยางอินเดีย ความหมาย

การขยายพันธุ์ต้น ยางอินเดีย สามารถทำได้โดย วิธีปักชำกิ่ง โดยเลือกตัดกิ่งที่ แข็งแรงที่สุดมา ให้มียาวประมาณ 6 – 8 นิ้ว จากนั้นนำไปปัก ในดินร่วน ที่ระบายน้ำดี หรือผสมทรายหยาบ เพื่อช่วยให้ออกรากเร็วขึ้น ขั้นตอนต่อ คือ การรดน้ำให้ชุ่ม และวาง ไว้ในที่ร่ม เมื่อต้นเริ่ม แตกราก และใบใหม่ จึงค่อยย้ายไปปลูกลง ในกระถาง การปักชำควรทำใน ช่วงฤดูฝน หรือฤดูใบไม้ผลิ จะได้ผลดีที่สุด

รู้หรือไม่ว่าใบของต้นยางอินเดีย สามารถเปลี่ยนสีได้?

ใบของต้นยางอินเดีย สามารถเปลี่ยนสีได้ ตามธรรมชาติ เช่น ใบอ่อนจะเป็นสีแดง ก่อนเปลี่ยนเป็นเขียวเมื่อโตเต็มที่ และถ้าหากได้รับ แสงไม่พอ หรือรดน้ำมากจนเกินไป อาจจะทำให้ใบซีด เหลือง หรือร่วงได้ บางสายพันธุ์ก็มีลวดลายสี ที่เปลี่ยนเฉด ไปตามแสง เป็นต้น

ประโยชน์ของต้นยางอินเดีย ในการฟอกอากาศ

ต้นยางอินเดียมีประโยชน์ ในการฟอกอากาศ ที่โดดเด่น เพราะสามารถดูดซับ สารพิษในอากาศได้ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย ซึ่งมักพบในเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง ภายในบ้าน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มออกซิเจน และรักษาความชื้น ในอากาศ ทำให้บรรยากาศ ภายในห้อง สดชื่น เหมาะสำหรับปลูกไว้ ในบ้าน หรือที่ทำงาน เพื่อเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

สรุป ยางอินเดีย ความหมาย

สรุป ยางอินเดีย ไม้ประดับใบสวย ที่มีความหนา และเงางาม ดูแลง่าย ทนต่อสภาพอากาศแล้งได้ เป็นอย่างดี คนส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้ ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงาน มีคุณสมบัติ ในการฟอกอากาศ เสริมสร้างความสดชื่น และยังเป็น ต้นไม้มงคล ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องโชคลาภ เรียกทรัพย์ เงินทองได้อีกด้วย 

ต้นยางอินเดียควรตั้งไว้ บริเวณมุมไหนของบ้าน?

ต้นยางอินเดีย ควรตั้งไว้ในที่ ที่มีแสงรำไร เช่น ใกล้หน้าต่าง ที่มีม่านกรองแสง ไม่ควรให้โดนแดดจัดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้  ส่วนในด้านฮวงจุ้ย นิยมวางไว้ทาง ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของบ้าน เพื่อเสริมโชคลาภ และความมั่งคั่ง

ต้นยางอินเดียดูแลง่ายไหม?

ยางอินเดียเป็นต้นไม้ ที่ดูแลง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะไม่ต้องดูแลเยอะ รดน้ำเพียงแค่ 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ ตั้งไว้ในบริเวณ ที่เหมาะสม ได้รับแสงแดดที่พอดี ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนกระถางบ่อยๆ เพราะต้นไม้ชนิดนี้ มีการเจริญเติบโต ที่ค่อนข้างช้า หมั่นเช็ดทำความสะอาดใบ ให้เงางาม อยู่ตลอดเวลา ก็เพียงพอ 

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง