แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ คาสิโน บาคาร่า ไฮโล ครบพร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

หมาไคเค็น อินุ ลักษณะ แข็งแรง มีลวดลายที่โดดเด่น

หมาไคเค็น อินุ ลักษณะ

หมาไคเค็น อินุ ลักษณะ โดดเด่น เป็นหนึ่งใน พันธุ์หมา ต่างประเทศ ที่หายากมาก มีลำตัว ขนาดกลาง ขนลายเสือ หนาสองชั้น มีความแข็งแรง และว่องไว เพราะเดิมทีเคยใช้ ล่าสัตว์ในภูเขา มีนิสัยซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ระแวง คนแปลกหน้า อีกทั้งยังเป็นหมา ที่ต้องการการฝึก และออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วย

  • ต้นกำเนิดของหมาไคเค็นอินุ
  • ข้อมูลที่ต้องรู้ก่อนเริ่มเลี้ยง
  • ลักษณะนิสัยของหมาไคเค็นอินุ

ต้นกำเนิดของหมาไคเค็นอินุ คือที่ไหน?

หมาไคเค็นอินุ สามารถเรียกได้หลากหลายชื่อ เช่น โทะระอินุ หรือ หมาลายเสือ เป็นพันธุ์สุนัขพื้นเมือง ของประเทศญี่ปุ่น โดยมีต้นกำเนิดมาจาก ภูมิภาคไค จังหวัดยามานาชิ และยังเป็นอนุสรณ์ สถานแห่งชาติ เป็นพันธุ์สุนัข ที่พบเจอได้ยาก แม้ในถิ่นกำเนิด ของตัวเอง และที่สำคัญไคเค็นอินุ ยังเป็นสุนัขพื้นเมือง ที่ได้รับการคุ้มครองจาก Nihon Ken Hozonkai อีกด้วย [1]

บริบทสำคัญของหมาไคเค็นอินุในอดีต คืออะไร?

หมาไคเค็นอินุ เป็นหนึ่งในหก พันธุ์สุนัขพื้นเมือง ของประเทศญี่ปุ่น ที่เดิมทีเคยถูกเลี้ยงไว้ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ ในภูเขา ซึ่งจะใช้ล่าตั้งแต่ สัตว์ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ เช่น ไก่ฟ้า และหมี ไคเค็นอินุเป็นพันธุ์หมา ที่ว่องไว และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังพร้อมทำทุกอย่าง เพื่อให้เจ้าของพอใจ และในปัจจุบันก็เป็นพันธุ์หมา ที่พบได้ยาก [2]

ข้อมูลโดยทั่วไปที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเลี้ยง

  • ชื่อพันธุ์ : ไคเค็นอินุ
  • ถิ่นกำเนิด : จังหวัดยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น
  • ขนาดตัว : ขนาดกลาง สูงประมาณ 45–55 ซม. และมีน้ำหนัก 14–18 กก.
  • อายุขัยเฉลี่ย : 12–16 ปี
  • ขน : สั้นถึงกลาง หนาแน่น มีสองชั้น เช่นเดียวกับ คิชูเคน สุนัขญี่ปุ่น
  • สีขน : ลายเสือ ซึ่งอาจดูดำสนิท ในตอนเด็ก แต่จะค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อเริ่มโต
  • รูปร่าง : ลำตัวแน่น แข็งแรง มีความว่องไวสูง
  • ใบหน้า : หูตั้ง ตาเรียวเล็ก จมูกดำ

เผยลักษณะนิสัยของหมาไคเค็นอินุ

หมาไคเค็น อินุ ลักษณะ

ไคเค็นอินุ มีนิสัยซื่อสัตย์ และภักดี ต่อเจ้าของมาก ฉลาด เรียนรู้ไว และตอบสนองดี ชอบความเป็น อิสระ มีสัญชาตญาณนักล่าสูง แต่ไม่ดุร้าย โดยไม่จำเป็น ขี้ระแวงคนแปลกหน้า แต่สงบนิ่ง กล้าหาญ และพร้อมปกป้องครอบครัวเสมอ อีกทั้งยังเป็นสุนัข ที่ต้องการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และการออกกำลังกาย เป็นประจำ เพื่อระบายพลังงาน

ปัญหาสุขภาพที่มักพบได้บ่อยใน หมาไคเค็นอินุ

หมาไคเค็นอินุ เป็นพันธุ์สุนัข ที่มีโอกาสพบเจอโรคได้ เหมือนกับสุนัขทั่วไป เช่น โรคกระดูก ตา และหัวใจ เพราะฉะนั้นควรนำมัน ไปตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีน เป็นประจำทุกปี ที่สำคัญควรให้กินอาหาร ที่มีสารอาหารควรถ้วน เพื่อให้สุขภาพ แข็งแรง สมวัย และโรคที่ควรระวังที่สุด ในสุนัขสายพันธุ์นี้ คือ โรคข้อเข่าเสื่อม [3]

วิธีการฝึกให้หมาไคเค็นอินุเชื่อง ทำได้อย่างไร?

  • ฝึกตั้งแต่เด็ก : เริ่มฝึกตั้งแต่ยังเป็น ลูกสุนัข เพื่อสร้างพฤติกรรมที่ดี และความเคยชิน ในการเข้าสังคม
  • เสริมพลังบวกในการฝึก : เช่น การให้รางวัล หรือ คำชม เมื่อเขาทำในสิ่งที่เราต้องการ ออกมาได้ดี 
  • ฝึกในสภาพแวดล้อม ที่สงบ : เลือกเวลาฝึกในที่ ที่ไม่มีสิ่งรบกวน เพื่อให้พวกมันจดจ่อ กับการฝึก
  • ฝึกคำสั่งพื้นฐาน : เริ่มฝึกจากคำสั่งง่ายๆ เช่น รอ มา นั่ง ยืน และค่อยๆ เพิ่มความยากขึ้น ตามลำดับ 
  • ใช้เวลาฝึกสั้นๆ : สุนัขสายพันธุ์นี้ ค่อนข้างรักอิสระ ของตนเอง เพราะฉะนั้นควรใช้เวลา ในการฝึก อย่างน้อย 10 – 15 นาที ก็เพียงพอ
  • ฝึกด้วยความสม่ำเสมอ : ควรฝึกทุกวัน เพื่อให้พวกมันคุ้นเคย กับการเชื่อฟังคำสั่ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง : ถ้าฝึกด้วยความรุนแรง อาจจะทำให้พวกมัน ไม่ไว้วางใจ และต่อต้าน

ข้อสรุป เรื่องราวของ หมาไคเค็น อินุ

หมาไคเค็นอินุ พันธุ์สุนัขพื้นเมือง ของญี่ปุ่น ขนาดกลาง แข็งแรง และมีลายเสือ ที่โดดเด่น มีความฉลาด รักอิสระ และภักดีต่อเจ้าของ ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง อีกทั้งยังมีทักษะการว่ายน้ำ และการสืบค้นที่ดี และที่สำคัญ คือ ได้รับการยกย่องว่า เป็นสุนัขที่สามารถปกป้อง ครอบครัวได้ 

สภาพอากาศแบบไหน ที่เหมาะแก่การเลี้ยงหมาไคเค็นอินุ?

ไคเค็นอินุ พันธุ์หมา น่าเลี้ยง เป็นสัตว์ที่เหมาะกับ สภาพอากาศเย็นถึงอุ่น เพราะขนสองชั้น จะช่วยเก็บความอบอุ่น ในฤดูหนาว ซึ่งอาจจะไม่เหมาะ กับการอยู่ในสภาพอากาศ ที่ร้อนจัด เนื่องจากขนหนาของพวกมัน จะทำให้รู้สึกร้อนขึ้น 

ไคเค็นอินุเข้ากับคนได้ดีไหม?

ไคเค็นอินุเป็นสุนัข ที่รักเจ้าของ และมีความซื่อสัตย์สูง พวกมันสามารถสร้าง ความสัมพันธ์ กับเจ้าของ ได้เป็นอย่างดี แต่จะขี้ระแวง และระมัดระวังตัว จากคนแปลกหน้า ควรฝึกให้เข้าสังคมตั้งแต่เด็ก เพื่อให้คุ้นเคย กับคนอื่น สุนัขสายพันธุ์นี้ เหมาะกับคนที่มีเวลาฝึก และดูแล

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง