แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ คาสิโน บาคาร่า ไฮโล ครบพร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

ตำนาน ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม (Dire Wolf) ใครเป็นผู้ฟื้นคืนชีพได้

ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม

ตำนาน ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม (Dire Wolf) อดีตหมาป่าอเมริกา ที่เคยได้ฉายาว่า “หมาป่าตัวใหญ่ที่สุดในโลก” ซึ่งจากการศึกษาข้อมูล สันนิษฐานว่า พวกมันเคยมีชีวิตอยู่จริงๆ ย้อนไปในยุคไพลสโตซีน ส่วนประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ศึกษาต่อด้านล่าง

  • ข้อมูลสุนัขป่าโลกันตร์
  • สถานะปัจจุบันของไดร์วูล์ฟ
  • คำอธิบายไดร์วูล์ฟ และข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

ใครเป็นผู้ตั้งชื่อ Canis dirus ให้ไดร์วูล์ฟ

ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม คำตอบคือมีจริง ถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis dirus เมื่อปี 1858 โดย Joseph Leidy แต่ก่อนจะเรียกชื่อนี้ เดิมทีมันเคยรู้จักในอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น Canis ayersi, Canis mississippiensis หรือ Canis indianensis [1] ปัจจุบันมีอีกชื่อคือ สุนัขป่าโลกันตร์

ข้อมูลสุนัขป่าโลกันตร์ เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาใด

เอกสารวิจัยของ Nature (2021) เป็นการร่วมมือกันของ 6 มหาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยควีนเมรี, มหาวิทยาลัยเดอรัม, มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส, มหาวิทยาลัยแอดิเลด และมหาวิทยาลัยลูทวิช-มัคซีมีลีอานแห่งมิวนิก

ได้เก็บตัวอย่างฟอสซิลหมาป่า 5 สายพันธุ์ ที่ขุดพบในไวโอมิง, ไอดาโฮ, โอไฮโอ และเทนเนสซี ซึ่งมีอายุประมาณ 12,900-50,000 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ไดร์วูล์ฟแยกตัวออกจากหมาป่าแอฟริกา เมื่อราวๆ 5.1 ล้านปีก่อน และแยกจากสายพันธุ์อื่นเมื่อ 5.7 ล้านปีก่อน มันอาจมีสายเลือดห่างๆ กับหมาป่าสีเทาในปัจจุบัน [2]

และเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 90 สกุล ที่มีขนาดตัวมากกว่า 44 กก. พวกมันสูญพันธุ์ในเหตุการณ์ควอเทอร์นารี เมื่อราว 12,700 ปีก่อน หรือช่วงปลายยุคไพลสโตซีน จากนั้นสัตว์กินเนื้อหรือซาก ก็ขาดอาหาร และสูญพันธุ์ตามๆ กันไป

อัปเดตสถานะปัจจุบันของไดร์วูล์ฟ คืนชีพได้จริงหรือ

ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม

ข่าวจากช่วงเดือนเมษายน 2025 มีข้อมูลอ้างว่า บริษัท Colossal Biosciences ในสหรัฐอเมริกา ได้ฟื้นคืนชีพให้กับสัตว์ชนิดแรกของโลกที่สูญพันธุ์ เป็นลูกสุนัขป่าโลกันตร์ 3 ตัว ตั้งชื่อว่าคาลีซี, โรมูลุส, รีมัส โดยบริษัทกล่าวว่า พวกเขาใช้ DNA จากฟอสซิลอายุ 13,000 และ 72,000 ปี

โดยทำการดัดแปรพันธุกรรมยีน 30 จุด จากทั้งสิ้น 19,000 จุด เพื่อให้ได้ลักษณะเด่น ไม่ว่าจะเป็น ขนหนา+สีขาว กะโหลกกว้าง และกรามมีแรงกัดมากขึ้น ซึ่งทั้งสามตัว เกิดจากการโคลนนิงเซลล์ ที่ให้สุนัขบ้านเป็นแม่อุ้มบุญ และตัวผู้ 2 ตัวแรก เกิดในปี 2024 ส่วนตัวเมียเกิดในปี 2025

อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์หลายคน โต้เแย้งเกี่ยวกับผลงานนี้ ยกตัวอย่างเช่น Nic Rawlence จากวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์ ระบุว่า ไม่ใช่สุนัขป่าโลกันตร์สายพันธุ์จริง แต่เป็นเพียงหมาป่าสีเทาที่ดัดแปลงพันธุกรรม เพราะดีเอ็นเอที่ใช้ทดลอง เสียหายหนักจนนำมาใช้ได้ไม่สมบูรณ์แบบ

ที่มา: คืนชีพหมาป่าสีขาวไดร์วูล์ฟ ครั้งแรกของโลกหลังสูญพันธุ์ 12,500 ปี [3]

ไดร์วูล์ฟต่างจากหมาป่าสีเทา หรือไม่

ทั้งสองมีหน้าตาคล้ายกัน แต่ไดร์วูล์ฟขนาดตัวใหญ่กว่า น้ำหนักเฉลี่ย 60-68 กก. ซึ่งหนักกว่าหมาป่าสีเทา เช่น ข้อมูล หมาป่าเอโซะ หรือ ข้อมูล หมาป่าฮอนชู ประมาณ 20 กก. ทำให้ไดร์วูล์ฟกลายเป็น สายพันธุ์ใหญ่ที่สุดในวงศ์ย่อย Caninae

คำอธิบายไดร์วูล์ฟ ลักษณะเป็นแบบไหน

  • น้ำหนักได้มากสุด 90.7 กิโลกรัม
  • สูงจากไหล่ 38 นิ้ว ความยาวลำตัว 69 นิ้ว
  • ร่างกายและขาทั้งสี่แข็งแรง เท้าเล็กกว่าหัว
  • ศีรษะและขากรรไกรขยายกว้าง
  • โพรงกะโหลกและเพดานปากกว้าง
  • กระดูกท้ายทอย (กระดูกอินเนียน) ยื่นออกมาชัดเจน
  • ขนาดตัวเปลี่ยนแปลงตามความผันผวนของสภาพอากาศ

ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม หมาป่าไดร์วูล์ฟอาศัยอยู่ที่ไหน

ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม

ถิ่นอาศัย

พบได้ทั่วทวีปอเมริกา ไกลจนถึงตอนเหนืออะแลสกา และลงไปทางใต้เม็กซิโกในสหรัฐ จากบริเวณที่พบฟอสซิล คือชายฝั่งแอตแลนติกและแปซิฟิก ซึ่งโครงกระดูกจำนวนมาก พบในเมืองแรนโชลาเบรีย เวเนซุเอลา เปรู รวมไปถึงโบลิเวีย อีกทั้งยังพบในจีนด้วย

อาหาร

เป็นสัตว์กินเนื้อ เช่น ม้า, สลอธ, ควายป่า และอูฐ โดยมีเสื้อเขี้ยวดาบเป็นคู่แข่ง มักแย่งซากสัตว์ หรือแทะกระดูก แต่ไดร์วูล์ฟเชี่ยวชาญน้อยกว่า

พฤติกรรม

จากโครงกระดูกชี้ให้เห็นว่า มันมีพฤติกรรมเหมือนหมาป่าส่วนใหญ่ คือ อยู่กันเป็นฝูง มีสังคมขนาดใหญ่ ช่วยกันล่ากับเลี้ยงลูก โดยตัวผู้ขนาดใหญ่ และแข็งแรงกว่าตัวเมีย

ที่มา: Distribution and Habitat, Diet, Age and Behavior [4]

สรุปแล้ว ไดร์วูล์ฟ มีจริงไหม

สรุปแล้ว ไดร์วูล์ฟมีจริง แต่เป็นช่วงเวลาเมื่อราว 1.2 หมื่นปีขึ้นไป หรือใช้ชีวิตอยู่ในยุคไพลสโตซีน ก่อนจะสูญพันธุ์ในช่วง Quaternary แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีการอ้างว่า ฟื้นคืนชีพ 3 ลูกหมาป่าไดร์วูล์ฟได้ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลายคน โต้แย้งว่ามันเป็นเพียง “หมาป่าลูกผสม” เท่านั้น

ไดร์วูล์ฟกลับมาอีกครั้ง เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่

ความคิดเห็นสำหรับเรื่องนี้ แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่

เห็นด้วย : Michael Knapp จากมหาวิทยาลัยโอทาโก บอกว่าช่วยเพิ่มลักษณะ ที่ทำให้สัตว์ปรับตัวได้ดีขึ้น อาทิ ขนหนาเพื่อทนทานต่อความหนาว แต่ก็มีข้อจำกัด เรื่องผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึง

โต้แย้ง : Nic Rawlence แย้งว่าอาจส่งผลต่อการเข้าใจ ว่าการสูญพันธุ์ ≠ ถาวร และกระทบถึงการป้องกันสิ่งแวดล้อม รวมถึงป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์อื่น ที่มีอยู่ในตอนนี้

วัฒนธรรมสมัยใหม่ ไดร์วูล์ฟปรากฏตัวแบบไหน

ภาพยนตร์ที่ทำให้คนรู้จักหมาป่าตัวใหญ่มากขึ้น คือเรื่อง Game of Thrones ซึ่งตระกูลสตาร์ค ใช้ไดร์วูล์ฟเป็นตราประจำ อีกทั้งยังมีหมาป่าเป็นสัตว์เลี้ยง ส่วนเรื่องอื่นได้แก่ World of Warcraft, The Legend of Zelda, Tucker and Dale Versus Evil เป็นต้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง